ABOUT

ผ้าปาเต๊ะ

เป็นผ้าที่สะท้อนปูมหลังประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจการค้า  ศาสนา ความเชื่อ ศิลปะ ภูมิปัญญาของเกาะชวาและคาบสมุทรมลายู นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเมื่อเราเห็นลายปาเต๊ะ เรารู้สึกถูกใจ พอใจ แปลกตาปนกับความรู้สึกคุ้นเคย  จริง ๆ แล้วนั้น ลวดลายของปาเต๊ะผสมผสานรสนิยม ความงามทางศิลปะของโลก ทั้งตะวันตก อย่างยุโรป  และตะวันออก ตะวันออกไกล ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้

ผ้าปาเต๊ะมีทั้งความคลาสสิก ความเป็นสากล และความร่วมสมัย อยู่บนผืนผ้าปาเต๊ะแต่ละผืน

เทคนิคปาเต๊ะ หรือ บาติกนั้น พบได้หลายแห่งทั่วโลก แต่แหล่งผลิตที่สำคัญ ซึ่งมีการพัฒนาเทคนิค ฝีมือความชำนาญได้สูงมากและเก่าแก่มากของโลก คือ เกาะชวา และเป็นแหล่งผลิตที่เชื่อมต่อกับภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ผ่านการค้าขาย อพยพ และล่าอาณานิคม

การผลิตผ้าที่มีลวดลายต่าง ๆ ในอดีตโดยเฉพาะช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงค้นศตวรรษที่ 19 เรื่อยมานั้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ผู้ผลิตทำงานกับนักออกแบบท้องถิ่น เพื่อสร้างลวดลายที่เฉพาะของตนขึ้นมา ซึ่งนักออกแบบอาจได้รับแรงบันดาลใจจากภาพในนิตยสารงานฝีมือ บัตรอวยพร บัตรเชิญ ผ้าพิมพ์ลาย และผ้าปักจากยุโรป ตลอดจนคำแนะนำจากลูกค้า ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดแนวทางหรือความนิยมลวดลายต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา  รวมไปถึงลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับความเชื่อทางศาสนา สังคม  ชุมชน ธรรมชาติภูมิประเทศของชวา

กระบวนการทำปาเต๊ะ มีผู้คนจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ช่างผลิตอุปกรณ์ (a copper pen หรือ canting) ช่างผลิตแม่พิมพ์ (copper stamp or wood stamp) ช่างเขียนลายหรือออกแบบลวดลาย ช่างเขียน canting ช่างผสมสี ช่างย้อม 

ปาเต๊ะมีขั้นตอนการทำที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน มีทั้งลายอนุรักษ์และลายที่คิดใหม่ เรียกว่า เป็นการอนุรักษ์ที่มีชีวิต จนได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นมรดกวัฒนธรรมของโลก ซึ่งนับเป็นมรดกของมนุษยชาติ

ผ้าของ roiroiร้อยหรอยทั้งหมด มาจากเกาะชวา อินโดนีเซีย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้